วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

9 วิธีเพิ่มไอคิว,อีคิว,สมรรถภาพสมอง

(1). ยิ่งใช้ยิ่งฉลาด
(2). หัวใจดีทำสมองดีไปด้วย
  • การป้องกันโรคหัวใจมีส่วนช่วยให้สมองดีไปด้วย เช่น การควบคุมอาหารและออกกำลังเพื่อป้องกันโรคอ้วน การตรวจเช็คความดันเลือด-ไขมันในเลือด-น้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ถ้าสูงให้รักษาอย่างต่อเนื่อง มีส่วนช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม
  • กลไกสำคัญคือ การทำงานหัวใจและสมองต้องอาศัยหลอดเลือดดีๆ เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุง
...
(3). อาหารดีและพอดี
  • อาหารที่ดีกับสมองเป็นอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเน้นไปทางธัญพืชไม่ขัดสี เช่น กินขนมปังโฮลวีท(เติมรำ)แทนขนมปังขาว กินข้าวกล้องแทนข้าวขาว ฯลฯ ผลไม้ทั้งผล(ปั่นรวมกากได้ แต่ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้กรองกากออก) ผัก ถั่ว น้ำมันมะกอก(น้ำมันในไทยที่คล้ายน้ำมันมะกอกมากที่สุด คือ น้ำมันรำข้าว)
  • อาหารดีอย่างเดียวไม่พอ... ต้องขอพอดีด้วย เพราะถ้าอ้วน... หลอดเลือดจะเสื่อมง่าย ทำให้สมองไม่ดี หรือถ้าอ้วนไปแล้ว ควรรีบเปลี่ยนเป็นคนอ้วนฟิต เพราะความฟิต(แข็งแรง)มีส่วนทำให้สมองดี
(4). ออกกำลัง
  • การออกกำลังกระตุ้นให้มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ๆ รอบๆ เซลล์ประสาท ทำให้ได้ "น้ำเลี้ยง" ดี และช่วยกระตุ้นให้เซลล์ประสาทงอกกิ่งก้านสาขาไปต่อเชื่อมกัน เปรียบคล้ายการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ดีขึ้น
  • การเดินเร็ว 1 กิโลเมตรเศษ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ลดเสี่ยงสมองเสื่อมได้ประมาณ 30% (ควรเป็นการเดินเร็ว นาทีละ 100 ก้าว หรือจับเวลา 15 วินาทีแล้วเดินได้ 25 ก้าวขึ้นไป)
...
(5). งีบสั้นๆ
  • การนอนสั้นๆ ไม่เกิน 30 นาทียามบ่ายช่วยให้สมองมีเวลาปรับโครงสร้างข้อมูลใหม่ๆ ให้เป็นระบบดีกว่านอนกลางคืนอย่างเดียว
(6). ฝึกไอคิวได้
  • ไอคิว(IQ)ไม่ใช่ค่าคงที่ หรือตราบาปที่จะบอกว่า ใครโง่อีกต่อไป... คนเราฝึกสมองด้วย 2 มือ 2 เท้าของเราได้ (2 มือ = หยิบหนังสือมาอ่าน; 2 เท้า = เดินให้มาก เนื่องจากสมองดีๆ เริ่มต้นที่เท้าเดิน ไม่ใช่นั่งๆ นอนๆ)
  • อาจารย์เรสแตกแนะนำว่า วิธีเพิ่ม IQ ดีๆ คือ การอ่านหนังสือดีๆ เช่น วรรณกรรมชั้นเยี่ยม ฯลฯ อ่านบล็อกดีๆ ฯลฯ
  • ขยายของเขตของความสนใจออกไป เช่น ถ้าอ่านหรือฟังข่าวอะไรแล้วให้นึกถึงภาพแผนที่ประเทศนั้นให้ได้ทันที หรือถ้าฟังข่าวในประเทศให้นึกถึงภาพแผนที่จังหวัดนั้นทันที...
  • ถ้านึกไม่ได้ให้รีบ "ค้นคว้าทันที (instant searching)" เช่น ถามคุณครูกูเกิ้ล (Google search) ฯลฯ เพื่อให้ความอยากรู้อยากเห็น (curiosity) เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และสมองจะอ่อนเยาว์คล้ายสมองเด็ก
  • เรื่องต่อไปที่จะพัฒนาสมองได้ คือ ให้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ หรือภาษาใหม่ๆ เป็นประจำทุกวัน ซึ่งทำได้โดยการฝึกเปิดพจนานุกรม (dictionary) ทันทีที่พบศัพท์ใหม่ และนึกภาพทันที เช่น ถ้าได้ยินคำว่า 'swine flu' ให้รีบเปิดพจนานุกรม เมื่อแปลเป็น "ไข้หวัดหมู" ได้ ให้รีบนึกถึงภาพคนเป็นไข้หวัดใหญ่ ภาพหมูในใจ ฯลฯ แล้วค้นคว้าเพิ่มเติมทันทีว่า เรื่องนี้มีข้อมูลอย่างไร
  • เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงคำสอนของ รศ.ดร.นัยพินิจ คชภักดีที่ว่า ความเป็นอัจฉริยะต่างจากความฉลาดตรงที่ว่า อัจฉริยภาพจะทำลาย 'boundaries' หรือกำแพงขวางกั้นองค์ความรู้สาขาต่างๆ ทำให้เกิดเครือข่ายความรู้ภายใน
  • เวลาคนฉลาดคิดจะคิดเป็นเรื่องๆ หรือ "คิดลึก" เฉพาะสาขา... แต่อัจฉริยบุคคลจะมีการคิดเป็นเรื่องๆ หรือ "คิดลึก" สลับกับการ "เชื่อมโยง (integrate)" องค์ความรู้หลายๆ สาขา(interdisciplinary) อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สมมติฐาน หรือองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้น
...
(7). เล่นเกมส์
  • สมองคนเราได้รับการออกแบบให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ครั้งละ 1 เรื่อง และจะทำงานได้ดีขึ้นถ้าฝึกสมองด้วยวิธีต่างๆ เช่น เล่นเกมส์ หมากรุก หมากฮอส ฯลฯ
(8). เชื่อมโยง
  • เรียนรู้ให้ "ลึก (deep)" สัก 1-2 เรื่อง โดยเฉพาะสาขาวิชาชีพที่เราทำงานต้องรู้ให้ลึกและรู้ให้มาก
  • หลังจากนั้นให้ขยายมิติของความรู้ออกไปในแนวนอน หรือแนว "กว้าง (wide)" เช่น เมื่อฟังหรืออ่านข่าวประเทศอะไรหรือจังหวัดอะไร ให้นึกให้ได้ว่า แผนที่ประเทศหรือจังหวัดนั้นๆ อยู่ที่ไหน ผู้คนมีหน้าตาอย่างไร นับถือศาสนาอะไร สวมเสื้อผ้าอย่างไร นิสัยใจคอเป็นอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร ฯลฯ (ปัจจุบันทำได้ง่าย เนื่องจากมีบริการสารานุกรรมวิกิพีเดียภาคภาษาไทยพร้อมแผนที่)
  • เปรียบเทียบ เช่น เมื่อได้ยินชื่อประเทศให้ลองเปรียบเทียบดูว่า ขนาด(พื้นที่) ประชากร หรือข้อมูลอื่นๆ เป็นกี่เท่า มากหรือน้อยกว่าประเทศที่เราอยู่(ไทย) ฯลฯ
...
(9). สนใจเรื่องใหม่ๆ
  • การมีงานอดิเรก และตั้งใจทำงานอดิเรกให้เก่งมีส่วนช่วยขยายขอบเขตขององค์ความรู้ให้กว้างและลึกลงไปในเรื่องอื่นๆ
  • ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ ศาสตราจารย์ 4 สาขาวิชา (เน้นด้านการจัดการ) เขียนในหนังสือเล่มหนึ่งว่า ท่านจะสนใจและค้นคว้าเรื่องใหม่ๆ แบบเจาะลึกไปทุกๆ 3 ปี ชีวิตการทำงานของท่าน 80 ปีจึงมีองค์ความรู้ที่สะสม และเชื่อมโยงได้อย่างกว้างขวาง (ท่านทำงานจนถึงอายุประมาณ 92 ปี หรือปีสุดท้ายที่เสียชีวิต)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น